ศัพท์ในวิชาโภชนาการ
กรด สารเคมีที่ส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว มีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบ มี 2 ประเภท คือ กรดอินทรีย์ และกรดอนินทรีย์กรดอะมิโน เป็นกรดที่มีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ไนโตรเจนในกรดอะมิโนจะจับเกาะไฮโดรเจนในรูปของอมิโนไนโตรเจน
กรดไขมัน เป็นกรดอินทรีย์ที่มีอยู่ในไขมัน มีทั้งประเภทอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว
กลูโคส เกิดจากการแยกตัวของน้ำตาลโมเลกุลใหญ่
การเก็บสะสมอาหารในร่างกาย การที่ร่างกายเก็บสะสมสารอาหารเพื่อที่ไว้ใช้ตามต้องการ
การแข็งตัวของเลือด การที่แคลเซียม วิตามินเค และสารทรอมบิน ช่วยในการแข็งตัวของโปรตีนฟิบริโนเจนในเลือด ทำให้เลือดหยุดไหล
การดูดซึม การที่สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดดำ หรือต่อมน้ำเหลือง เพื่อไว้ใช้เลี้ยงร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา การที่หน้าที่ของอวัยวะต่างๆเปลี่ยนแปลงไป
เกลือแร่ สารอาหารที่เป็นสารอนินทรีย์
กำมะถัน ธาตุอนินทรีย์ที่มีอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย
ไขมัน สารที่ประกอบด้วยกรดไขมันและกลีเซอรอล ไม่ละลายน้ำ
คลอโรฟีลล์ สารสีเขียวในผัก เป็นตัวที่ช่วยในการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้น้ำตาล
ความทึบแน่นของกระดูก การที่แคลเซียมและฟอสฟอรัสเกาแน่นที่กระดูก ถ้าเกาะแน่น กระดูกจะแข็งแรง
คอลเลเจน โปรตีนที่ไม่ละลายน้ำ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมให้เซลล์ต่างๆติดกัน ชนิดสีขาวเมื่อถูกความร้อนจะกลายเป็นเจลละติน
คาร์โบไฮเดรต สารเคมีที่ประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน
คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ออกซิเจน เกิดจากการเผาไหม้ของสารอาหารในร่างกาย
แคลเซียม ธาตุที่มีประโยชน์ในการสร้างกระดูก ช่วยให้เลือดหยุดไหลเมื่อเกิดบาดแผล ช่วยการทำงานของเส้นประสาท
เคซีน โปรตีนสมบูรณ์ที่มีอยู่ในน้ำนม ในรูปคอลลอยด์
แคลอรี หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน
ฉนวน สิ่งที่ไม่ให้ถ่ายเทความร้อน
ตับอ่อน อวัยวะรูปยาวรีที่อยู่ใต้กระเพาะอาหาร ผลิตน้ำย่อยหลายชนิด สำหรับย่อยในลำไส้เล็ก มีฮอร์โมนในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ไทอมีนเนส เอนไซม์ที่ทำลายวิตามินบี1 สามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการหุงต้ม
เนื้อกล้าม เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
เนื้อเยื่อ กลุ่มเซลล์ที่มารวมกัน
แบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มีขนาดเล็กที่สุด มีทั้งให้คุณและโทษ
ปรสิต สัตว์ที่อาศัยในร่างกายคน เช่น พยาธิ
โปรโตซัว สัตว์เซลล์เดียวที่ทำให้เกิดโรคในคน เช่น ไข้มาลาเรีย
โปรตีน สารที่เกิดจากกรดอะมิโนมารวมกัน
โปรโตเพคติน เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบในพืช มีหน้าที่ในการเชื่อมเซลล์ต่างๆ มีมากในผักและผลไม้ดิบ
ปุ่มซึม เนื้อเยื่อเล็กที่ยื่นออกมาจากผิวของผนังลำไส้เล็ก มีหน้าที่สำหรับดูดซึมสารอาหาร
พลังงาน ความสามารถในการเคลื่อนไหว
ฟอสฟอรัส ธาตุที่มีประโยชน์ในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
ภูมิคุ้มกัน ความต้านทานโรคของร่างกาย
โภชนาการ วิชาที่ว่าด้วยอาหารที่สัมพันธ์กับสุขภาพ
รีเฟล็กซ์ การกระทำที่มาจากสื่อเร่ง ไม่อยู่ในอำนาจของจิตใจ
สื่อเร่ง สิ่งที่กระทบกับปลายประสาทเพื่อทำให้เกิดความรู้สึก และทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบรับ
เหล็ก ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดง
อวิดิน โปรตีนที่มีในไข่ขาว
อาหาร สิ่งที่กินแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย
อินทรินซิค แฟคเตอร์ เป็นโปรตีนที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้น มีอยู่ในกระเพาะ เพื่อช่วยในการดูดซึมวิตามินบี12
อีลาสติน โปรตีนที่มีในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันสีเหลือง
อุณหภูมิ หน่วยสำหรับวัดความร้อน
เอนไซม์ สารโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆในร่างกาย
แอนโธไซยานิน สารสีแดง ม่วง หรือน้ำเงิน ที่มีในผัก
ฮอร์โมน สารโปรตีนที่ผลิตโดยต่อมไร้ท่อในร่างกายมีหน้าที่ควบคุมอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ
ฮีโมโกลบิน เม็ดสีที่ทำให้เลือดมีสีแดง ประกอบด้วยโปรตีนและเหล็ก มีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย